มสธ.จัดประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 14 มีผลงานวิจัยดีได้รับรางวัล 14 ผลงาน

วันที่ 26 พ.ย. 2567 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) โดยสำนักบัณฑิตศึกษาจัดการประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 14 มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนมพัทธ์ สมิตานนท์ กรรมการสภามหาวิทยาลัย รักษาการแทนอธิการบดี เป็นประธานเปิดงาน การจัดงานจัดในรูปแบบออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มเฟสบุ๊คและไมโครซอฟท์ทีม

การประชุมฯ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อสนับสนุนและเผยแพร่ผลงานวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา นักวิจัย และนักวิชาการ สู่สาธารณชน โดยผ่านเวทีนำเสนอผลงานวิจัยต่อที่ประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ และเป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา นักวิจัย นักวิชาการ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้าทางการวิจัยในสาขาต่างๆ และเป็นการสร้างผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกของ มสธ. ที่มีคุณภาพและมาตรฐานทางการศึกษา โดยในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาของ มสธ. เป็นหลักสูตรการเรียนออนไลน์สมบูรณ์แบบ ได้รับความสนใจมีผู้เข้าศึกษาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีหลักสูตรเปิดสอน 12 สาขาวิชา แต่ละภาคการศึกษามีผู้สมัครเข้าศึกษาจำนวนกว่า 2,000 คน

การประชุมครั้งนี้มีกิจกรรมสำคัญได้แก่การบรรยายพิเศษเรื่อง “AI โอกาส และความท้าทายทางการศึกษา การวิจัยในอนาคต” โดย ศาสตราจารย์ ดร.จินตวีร์  คล้ายสังข์ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และดร.ปรัชญา บุญขวัญ หัวหน้าทีมวิจัยเทคโนโลยีภาษาธรรมชาติและความหมาย กลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ การนำเสนอผลงานวิจัย และการมอบรางวัลผลงานวิจัย

ในการประชุมฯ มีบทความร่วมนำเสนอทั้งสิ้น 198 บทความ แบ่งเป็น กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน 37 บทความ  กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ จำนวน 11 บทความ และกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 150 บทความ ทุกผลงานที่ร่วมนำเสนอได้ผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะศาสตร์จากภายนอกและภายในมหาวิทยาลัย รวมถึงมีอาจารย์บัณฑิตศึกษา มสธ. ทุกสาขาวิชาร่วมเป็นกองบรรณาธิการ เพื่อเป็นการยืนยันคุณภาพของบทความ

ด้านการมอบรางวัลผลงานวิจัยในการประชุมครั้งนี้ มีบทความวิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์ ได้รับรางวัลรวมทั้งสิ้น 14 ผลงาน แบ่งเป็น กลุ่มสังคมศาสตร์ มีรางวัลดุษฎีนิพนธ์ดีมาก จำนวน 2 เรื่อง รางวัลวิทยานิพนธ์ดีมาก จำนวน 2 เรื่อง กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ มีรางวัลวิทยานิพนธ์ดีมาก จำนวน 5 เรื่อง และวิทยานิพนธ์ดี จำนวน 5เรื่อง

⭐ กลุ่มสังคมศาสตร์

🚩รางวัลดุษฎีนิพนธ์ดีมาก จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่

🌟 เรื่อง การสื่อสารสุขภาพทางสื่อสังคมออนไลน์เพื่อลดการบริโภคน้ำตาลในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในกลุ่มสตรีวัยทำงาน โดย นายกนกพงษ์ ม่วงศรี แขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มี รศ.ดร.วิทยาธร ท่อแก้ว เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา        

🌟 เรื่อง การจัดการการสื่อสารเครือข่ายร่วมปฏิบัติงานของสำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้ง โดย นางสาวพัชรินทร์ รัตนวิภา แขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มี รศ.ดร.วิทยาธร ท่อแก้ว เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา        

🚩 รางวัลวิทยานิพนธ์ดี จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่

🌟 เรื่อง ประสบการณ์การเรียนรู้สู่การออมเงินของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 โรงเรียนบ้านหนองแล้ง จังหวัดสุรินทร์ โดย นางจันทรนิวัติ  วิสิทธิ์ศิลป์ แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มี รศ.ดร.นิรนาท แสนสา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา    

🌟 เรื่อง ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารโดยบูรณาการเทคนิคผังงานที่มีต่อความสามารถด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง โดย นายสหรัฐ ลักษณะสุต แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มี ผศ.ดร.วรรณประภา สุขสวัสดิ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา    

⭐กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ

🚩 รางวัลวิทยานิพนธ์ดีมาก จำนวน 5 เรื่อง ได้แก่

🌟 เรื่อง ประสิทธิผลของการส่งเสริมการหายของแผลเบาหวานที่เท้าด้วยก๊อซขมิ้นชันในจังหวัดลพบุรี โดย นายประมวล สีบูลา แขนงวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มี รศ.ดร.มุกดา หนุ่ยศรี เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

🌟 เรื่อง ประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงในชุมชน อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร โดย นางชัญญรัส  สุนทรา  สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มี รศ.ดร.สุทธิพร มูลศาสตร์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

🌟 เรื่อง ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังการป่วยเป็นโรคโควิด-19 ร่วมกับการใช้แอปพลิเคชันไลน์โอเออำเภอบ้านลาด จ.เพชรบุรี โดย นางสาวสุปราณี พรหมสุขันธ์ สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มี ผศ.พันตรีหญิง ดร.นภาเพ็ญ จันทขัมมา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

🌟 เรื่อง การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจในการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังระยะแรก โรงพยาบาลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี โดย นางศศิภาส์ อริสริยวงศ์ สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มี รศ.ดร.อารี ชีวเกษมสุข เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

🌟 เรื่อง ผลของวิธีการสกัดด้วยความร้อน กรด และเอนไซน์ต่อสมบัติทางเคมีกายภาพ จุลินทรีย์ และประสาทสัมผัสของน้ำเชื่อมลองกอง โดย นายสิปนนท์  ชายแก้ว  วิชาเอกการจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ มี ผศ.ดร.ศรชัย สินสุวรรณ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

🚩รางวัลวิทยานิพนธ์ดี​ จำนวน 5 เรื่อง ได้แก่

🌟 เรื่อง ประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมแรงจูงใจในการลดน้ำหนักผ่านห้องเรียนอัจฉริยะของนักเรียนพยาบาลที่มีดัชนีมวลกายเกิน โดย นายบุญชัย ภาละกาล แขนงวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มี รศ.ดร.สุทธิพร มูลศาสตร์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

🌟 เรื่อง ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมอำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี โดย นายวัชระ แสนโหน่ง สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มี ผศ.พันตรีหญิง ดร.นภาเพ็ญ จันทขัมมา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

🌟 เรื่อง ความรุนแรงในสถานที่ทำงานและแนวปฏิบัติในการป้องกันความรุนแรงต่อพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง โดย นางอิศรา ศรีทอง มี ผศ.ดร.เปรมฤทัย  น้อยหมื่นไวย เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา        

🌟 เรื่อง รูปแบบการจัดการดูแลเพื่อป้องกันการผลัดตกหกล้มของผู้ป่วยที่มีความพิการในหอผู้ป่วย โรงพยาบาลทหารผ่านศึก โดย นางสาววงศ์แข หมูสีโทน สาขาวิชาการบริหารทางการพยาบาล สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มี ผศ.ดร.กาญจนา ศรีสวัสดิ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

🌟 เรื่อง รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการวิจัยของผู้บริหารทางการพยาบาล โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม โดย นายวัชรพันธ์ วงศ์คำพันธ์ มี ผศ.ดร.กาญจนา ศรีสวัสดิ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

บทความโดย

ข่าวที่น่าสนใจ

30.06
Blue Ocean Themed Wide Presentation
iu00