มอบรางวัลผลงานวิจัยประจำปี นักวิจัย มสธ. และการประกวด STOU TikTok Challenge

มสธ.โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาจัดพิธีมอบรางวัลผลงานวิจัยประจำปี 2567 แก่คณาจารย์ที่สร้างผลงานวิจัยอันเป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัย สังคมและประเทศ มีผลงานวิจัยได้รับรางวัลรวม 11 ผลงาน และในโอกาสวันสถาปนา มสธ. 46 ปี สถาบันวิจัยและพัฒนายังได้จัดการแข่งขันประกวดคลิปวิดีโอ STOU TikTok Challenge ส่งเสริมการศึกษาระบบทางไกลของ มสธ. ซึ่งมีคลิปได้รับรางวัลรวม 14 ผลงาน

วันที่ 4 ก.ย. 67 ที่ห้องประชุมใหญ่ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) โดย สถาบันวิจัยและพัฒนา จัดพิธีมอบรางวัลผลงานวิจัย ประจำปี 2567 และการแข่งขันประกวดคลิปวิดีโอ STOU TikTok Challenge ส่งเสริมการศึกษาระบบการศึกษาทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งจัดขึ้นเนื่องในโอกาสวันสถาปนามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 46ปี  5 กันยายน 2567

การจัดงานมี ผศ.ดร.พนมพัทธ์ สมิตานนท์ กรรมการสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช รักษาการแทนอธิการบดี เป็นประธานเปิดงานและผู้มอบรางวัล โดยการจัดงานมอบรางวัลผลงานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสร้างบรรยากาศด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัย รวมทั้งสนับสนุนให้บุคลากรผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ เพื่อพัฒนามหาวิทยาลัย สังคม และประเทศชาติ ซึ่งการประกาศผลครั้งนี้มีผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัลจำนวน 11 เรื่อง แบ่งเป็นระดับดีมาก 2 เรื่อง และระดับดี 9 เรื่อง ทุกผลงานได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณพร้อมเงินรางวัล

ผลงานวิจัยระดับดีมาก เป็นผลงานวิจัยด้านการศึกษาทางไกลทั้ง 2 เรื่อง ได้แก่

ผลงานเรื่อง การพัฒนาแชทบอทเพื่อให้บริการด้านสารสนเทศงานทะเบียนสำหรับนักศึกษาในระบบการศึกษาทางไกล โดย อาจารย์ ดร.ศุภมาส ชุมแก้ว สำนักทะเบียนและวัดผล

ผลงานเรื่อง การพัฒนาระบบการจัดการทรัพยากรการเรียนรู้อัจฉริยะเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ออนไลน์แบบเปิดและการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดย รศ.ดร.กรรณ จรรยาวุฒิวรรณ์ และ รศ.ดร.เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม สำนักเทคโนโลยีการศึกษา

รางวัลผลงานวิจัยระดับดี 9 เรื่อง แบ่งเป็นประเภทผลงานวิจัยวิชาการ พัฒนาสังคมและประเทศ และผลงานวิจัยด้านการศึกษาทางไกล จำนวน 8 เรื่อง และ ประเภท  ผลงานวิจัยสถาบัน จำนวน 1 เรื่อง   

ผลงานวิจัยวิชาการ พัฒนาสังคมและประเทศ และผลงานวิจัยด้านการศึกษาทางไกล จำนวน 8 เรื่อง ได้แก่

ผลงานวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการศึกษาทางไกลด้วยเทคโนโลยีเคลื่อนที่สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มสธ. โดย ผศ.ดร.ทรงลักษณ์  สกุลวิจิตร์สินธุ สาขาวิชาศิลปศาสตร์

ผลงานวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบรายการพอดคาสต์เพื่อการเรียนรู้สำหรับการศึกษาทางไกลในระดับอุดมศึกษาของ มสธ. โดย ผศ.ดร.พันทิพา อมรฤทธิ์ และ ผศ.ดร.พัทธนันท์ บุตรฉุย สำนักเทคโนโลยีการศึกษา

ผลงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาแชทบอทเพื่อตอบคำถามแบบอัตโนมัติสำหรับนักศึกษาปริญญาโท มสธ. โดย ผศ.ดร.ทรงลักษณ์ สกุลวิจิตร์สินธุ  สาขาวิชาศิลปศาสตร์

ผลงานวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้แผนผังความคิดเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาผู้ใหญ่วัยกลางคนและผู้สูงอายุระดับปริญญาตรีในระบบการศึกษาทางไกลของ มสธ. โดย อาจารย์ ดร.สมเกียรติ แก้วเกาะสะบ้า และ ผศ.ดร.ศิริรัตน์ จำแนกสาร สำนักทะเบียนและวัดผล

ผลงานวิจัยเรื่อง การพัฒนากฎหมายการศึกษากับมาตรการคุ้มครองเด็กจากการข่มเหงรังแกในรูปแบบดั้งเดิม และไซเบอร์ โดย ผศ.ดร.เกวลิน ต่อปัญญาชาญ และ รศ.วรวุฒิ เทพทอง สาขาวิชานิติศาสตร์

ผลงานวิจัยเรื่อง โครงการศึกษาแนวทางการส่งเสริมการพัฒนาสิทธิบัตรร่วมเพื่อสนับสนุนระบบนิเวศนวัตกรรม โดย ผศ.ดร.วลัยวรรณ มธุรสปรีชากุล และ ผศ.ดร.เกวลิน ต่อปัญญาชาญ สาขาวิชานิติศาสตร์

ผลงานวิจัยเรื่อง กระบวนทัศน์ในการพัฒนามาตรการกำกับดูแลข่าวลวงบนอินเทอร์เน็ต โดย ศ.ดร.สราวุธ  ปิติยาศักดิ์   ผศ.ดร.วราภรณ์ วนาพิทักษ์ และอาจารย์ ดร.ไพบูล ช่วงทอง สาขาวิชานิติศาสตร์

ผลงานวิจัยเรื่อง การศึกษารูปแบบการดำเนินชีวิตของนักท่องเที่ยวสูงอายุชาวอาเซียนที่มีการใช้จ่ายสูง โดย รศ.ดร.ราณี อิสิชัยกุล และอาจารย์ ดร.นนท์ลฉัตร  วีรานุวัตติ์ สาขาวิชาวิทยาการจัดการ

ผลงานวิจัยสถาบัน จำนวน 1 เรื่อง ได้รับโล่รางวัล ได้แก่

ผลงานวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาในหลักสูตรวิชาเอกพัฒนาการมนุษย์และครอบครัว สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ มสธ. โดย ผศ.ดร.พิศุทธิภา เมธีกุล และ ผศ.ดร.เอมอร จารุรังษี สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์

สำหรับการแข่งขันประกวดคลิปวิดีโอ STOU TikTok Challenge เพื่อส่งเสริมการศึกษาระบบการศึกษาทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และจัดขึ้นเพื่อเป็นกิจกรรมร่วมในโอกาสวันสถาปนามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชครบ 46ปี มีการแข่งขันทั้งสิ้น 3 ประเภท ได้แก่ประเภทมัธยมศึกษา ประเภทสถาบันอุดมศึกษาและเครือข่ายวิจัยประชาชื่น และประเภทบุคคลทั่วไป  โดยมีผลงานเข้ารอบสุดท้ายที่ทำการแข่งขันกันวันนี้มี 14 ผลงาน มี รศ.ดร.ชนกนารถ บุญวัฒนะกุล ผอ.สำนักการศึกษาต่อเนื่อง มสธ. รศ.ดร.สังวรณ์ งัดกระโทก ผอ.สถาบันวิจัยและพัฒนา มสธ. ผศ.ดร.ธีร์ธวัช เจนวัชรรักษ์ สถาบันการศึกษานานาชาติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง  อาจารย์ ดร.ชุติวัฒน์ สุวัตถิพงศ์ อาจารย์ประจำสำนักเทคโนโลยีการศึกษา มสธ. และ คุณอัยมี่ย์ ศรีระสันต์ Tiktokerผู้มีชื่อเสียง เป็นคณะกรรมการตัดสิน

ผลการตัดสินการประกวด STOU TikTok Challenge

ประเภทมัธยมศึกษา

ชนะเลิศ ได้แก่ กลุ่มนักเรียนจากโรงเรียนอนุราชประสิทธิ์ ผลงานเรื่อง สร้างเส้นทางสู่ความสำเร็จด้วยการศึกษาทางไกล มสธ.

รองชนะเลิศอันดับ1 ได้แก่ กลุ่มนักเรียนโรงเรียนนนบุรีวิทยาลัย ผลงานเรื่อง มสธ.การศึกษาไร้พรมแดน

รองชนะเลิศอันดับ2 ได้แก่ กลุ่มนักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยนนทบุรี ผลงานเรื่อง แพ็คเป๋ามาเรียน มสธ.

รางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้แก่ กลุ่มนักเรียน โรงเรียนวรรัตน์ศึกษา และ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยนนทบุรี อีกกลุ่มหนึ่ง

ประเภทสถาบันอุดมศึกษาและเครือข่ายวิจัยประชาชื่น

ชนะเลิศ ได้แก่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ผลงานเรื่อง มสธ.ทางเลือกที่ดีที่สุด

รองชนะเลิศอันดับ1 ได้แก่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ผลงานเรื่อง มสธ. ที่ไหน เวลาใด ใครก็เรียนได้

รองชนะเลิศอันดับ2 ได้แก่ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ผลงานเรื่อง นี่แหละความฝัน

ประเภทบุคคลทั่วไป 

ชนะเลิศ ได้แก่ ทีมแก๊งนางฟ้าจอมชาเลนจ์ ผลงานเรื่อง มสธ.มหาวิทยาลัยที่สะดวกที่สุดสำหรับทุกคน

รองชนะเลิศอันดับ1 ได้แก่ นายสุวิชัย เวทย์โส ผลงานเรื่อง ทุกที่ ทุกเวลา ที่ มสธ.

รองชนะเลิศอันดับ2 ได้แก่ น.ส.ปิยมาภรณ์ เหมืองทอง ผลงานเรื่อง พลิกชีวิตใหม่ด้วยศึกษาทางไกล มสธ.

รางวัลชมเชย 3 รางวัล ได้แก่ อาจารย์ ดร.วินิตา แก้วเกื้อและคณะ นายกริช โลหะสุวรรณ และเด็กชายดิณณภพ หยาง

นอกจากนี้ยังมีรางวัลผลงานที่ได้รับการ Vote ในสื่อออนไลน์มากที่สุดอีก 1 รางวัลได้แก่ ผลงานเรื่อง จะพลิก..จะ Click ก็ Tik ถูกใจ กับการศึกษาทางไกลของ มสธ. โดยอาจารย์ ดร.วินิตา แก้วเกื้อและคณะ ทั้งนี้ทุกผลงานที่ได้รับรางวัลได้รับโล่เกียรติคุณพร้อมเงินรางวัล

บทความโดย

ข่าวที่น่าสนใจ

รับสมัคร
royal-19122002
iuu001