มอบรางวัลนวัตกรรมและแนวปฏิบัติที่ดีบุคลากร มสธ. ประจำปี 67

นวัตกรรมการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการของสำนักเทคโนโลยีการศึกษา คว้าชนะเลิศการประกวดนวัตกรรมและแนวปฏิบัติที่ดี (Innovation and Good Practice) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ส่วนรองชนะเลิศและชมเชยมีผลงานได้รับ 5 ผลงาน ด้านศูนย์ประสานงานการประกันคุณภาพการศึกษา ผู้จัดยอมรับปีนี้คึกคักมีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมมากถึง 18 ผลงาน ทุกผลงานได้รับเกียรติบัตรชื่นชม  

เมื่อวันที่ 2 ก.ย. 67 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) โดยศูนย์ประสานงานการประกันคุณภาพการศึกษาจัดพิธีมอบรางวัลนวัตกรรมและแนวปฏิบัติที่ดี (Innovation and Good Practice) มสธ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ณ ห้องสามศร อาคารอเนกนิทัศน์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนมพัทธ์ สมิตานนท์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช รักษาการแทนอธิการบดี เป็นประธานเปิดงานและมอบรางวัล

การจัดงานมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรทุกหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยมีส่วนร่วมในการพัฒนานวัตกรรม สนับสนุนการดำเนินงานตามพันธกิจหลักของหน่วยงาน ใช้ความรู้ความสามารถคิดค้นสิ่งใหม่หรือการพัฒนางานเดิมให้ทันกับความเปลี่ยนแปลง ตอบสนองความต้องการ สร้างคุณค่าใหม่ๆ แก่นักศึกษาและผู้รับบริการ และยังเพื่อให้บุคลากรมีขวัญและกำลังใจร่วมสร้างผลงาน

สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 นี้ มีผลงานเข้ารวมประกวดถึง 18 ผลงาน ได้แบ่งเป็น 6 ประเภท ได้แก่ 1.นวัตกรรมทางไกล 2.นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ 3. นวัตกรรมบริการ 4.นวัตกรรมในกระบวนการการดำเนินงาน 5.นวัตกรรมองค์กร และ 6.นวัตกรรมการบริหารจัดการ ซึ่งผลงานที่ได้รับรางวัลมี 6 ผลงาน ได้แก่

รางวัลชนะเลิศ ผลงานเรื่อง “นวัตกรรมการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการของสำนักเทคโนโลยีการศึกษา” สำนักเทคโนโลยีการศึกษา โดย อาจารย์ ดร.ศศิญานัยน์ แสนแพง และอาจารย์ ดร.อภิสิทธิ์ เถายะบุตร

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ1 ผลงานเรื่อง “โครงการพัฒนาระบบแจ้งซ่อมอุปกรณ์ดิจิทัล (IT Help Desk)” สำนักคอมพิวเตอร์ โดย นายวีระพล มาทะเล

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ2 ผลงานเรื่อง “Watpon.tools : เครื่องมือวัดและประเมินผลรายบุคคล” สำนักเทคโนโลยีการศึกษา โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์ประภา พาลพ่าย และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พันทิพา อมรฤทธิ์

รางวัลชมเชย ผลงานเรื่อง “ระบบออนไลน์เพื่อการรายงาน ติดตามและรวบรวมผลการประเมินนักศึกษาชุดวิชา 52405 การฝึกงานวิชาชีพสาธารณสุขในชุมชนสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สพ.ญ.ดร. มยุรินทร์ เหล่ารุจิสวัสดิ์

รางวัลชมเชย ผลงานเรื่อง “รายการ STOU Storian Podcast: “สารสนเทศอัตลักษณ์ มสธ.” แหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ยั่งยืน” สำนักบรรณสารสนเทศ โดย นางสาวรัชกร คงเจริญ  นางสาวดวงรัตน์ ดีขั้ว  และนางสาวภัทราวดี พลบุญ

รางวัลชมเชย ผลงานเรื่อง “โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศการบริหารหลักสูตร” สำนักวิชาการ ร่วมกับ สำนักคอมพิวเตอร์ โดย ฝ่ายพัฒนาหลักสูตรและการสอน และ นายอำนาจ ธรรมกิจ

นอกจากนี้อีก 12 ผลงานที่ส่งเข้าร่วมประกวดยังได้รับเกียรติบัตรในการจัดการงานครั้งนี้ด้วย ซึ่งทั้ง 12 ผลงาน มีดังนี้

ห้องเรียนเสมือนจริงเพื่อพัฒนาทักษะดิจิทัลสำหรับนักศึกษา มสธ. สำนักเทคโนโลยีการศึกษา โดย อาจารย์ ดร.อภิสิทธิ์ เถายะบุตร

โครงการต้นแบบนวัตกรรม Text to Speech เอกสารการสอนชุดวิชา” สาขาวิชาวิทยาการจัดการ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์

นวัตกรรมบทเรียนออนไลน์สำหรับนักศึกษาพยาบาลในการฝึกปฏิบัติการผดุงครรภ์ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา ศรีสวัสดิ์

การจัดการเรียนการสอน ชุดวิชา 51106 พยาธิสรีรวิทยา และเภสัชวิทยาคลินิกสำหรับพยาบาล แผน ก3 สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ โดย อาจารย์สุพัตรา ช่างสุพรรณ

การพัฒนาระบบส่งตรวจรูปแบบและการจัดทำวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สำนักบัณฑิตศึกษา ร่วมกับ สำนักคอมพิวเตอร์ โดย นางสาวดวงฤดี โพธิ์สุ่น  นางอัญชลี บิดหล่า และนายอำนาจ ธรรมกิจ

การพัฒนาระบบการตอบคำถามอัตโนมัติ ด้วยการใช้ dialogflow บน Line official account เพื่อการบริการนักศึกษา” สำนักบริการการศึกษา โดย นางสาวเมธิตา  สาไพรวัน

รายวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลด้านการบริการสุขภาพและการพยาบาลด้วยระบบโมดูลการสอนทางไกล สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อารี ชีวเกษมสุข

ระบบสารสนเทศผลผลิตการวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช” สถาบันวิจัยและพัฒนา โดย นายสุรเดช อธิคม

แนวปฏิบัติที่ดีด้านการรณรงค์เพิ่มยอดนักศึกษาในระดับปริญญาตรี ของสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช” สาขาวิชานิเทศศาสตร์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กานต์ บุญศิริ

ระบบสารสนเทศการติดตามความก้าวหน้าโครงการวิจัยสถาบันที่ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยสถาบัน” สถานวิจัยสถาบันและสารสนเทศ โดย นางสาวบุญสิตา เกษมณี

ระบบส่งแบบทดสอบสำรองทางอิเล็กทรอนิกส์ สำนักทะเบียนและวัดผล โดย นางสาวผดุงขวัญ แลสุภา โครงการการออกแบบเมืองอัจฉริยะจังหวัดนนทบุรี” สาขาวิชาวิทยาการจัดการ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์

บทความโดย

ข่าวที่น่าสนใจ

ouii031
iuyy00
Blue Ocean Themed Wide Presentation