รองศาสตราจารย์ ดร.มานิตย์ จุมปา กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ รักษาการแทนอธิการบดี และ นางรัตน์ทิพย์ ผูกเกษร หัวหน้างานพัฒนาความเป็นสากล รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานวิเทศสัมพันธ์ ซึ่งเป็นผู้ประสานงาน OU5 ของ มสธ. พร้อมทั้งนักวิจัยของ มสธ. จำนวน 5 คน ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.สังวรณ์ งัดกระโทก สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิเรก วัชรพัฒนกุล สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูมิ เจือศิริภักดี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาจารย์ ดร.วรวิช นาคแป้น สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ อาจารย์ ดร.ชลรัศมิ์ สุริยารังสรรค์ สาขาวิชาศิลปศาสตร์ เดินทางไปเข้าร่วมประชุม The OU5 Meeting และเข้าร่วม The HOU’s 30 Anniversary ceremony ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม – 4 พฤศจิกายน 2566ณ กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
การประชุมมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนทางไกลและการวิจัยร่วมกันของมหาวิทยาลัยเปิดที่ใช้ระบบการศึกษาทางไกลทั้ง 5 แห่ง ในภูมิภาคอาเซียน หรือเรียกว่ากลุ่ม OU5 ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยต่าง ๆ คือ Hanoi Open University (HOU) สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม Open University Malaysia (OUM) ประเทศมาเลเซีย University of the Philippines Open University (UPOU) สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ University Terbuka (UT) สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หัวข้องานวิจัยปี 2566 ประกอบด้วย 1. Technology Trends in Education: Nano Learning, Authentic Online Assessment, Gamification, Blockchain and Others (and How AI Will Impact These Technologies) 2.Open University Infrastructure for a Sustainable Future: A Design in View of Fulfillment of SDG 11 3. Roles of ASEAN Open Universities in Enhancing Entrepreneurship and Global Presence 4. Roles of Open Universities in STEM Education (Way Forward with a Focus on the State of Gender Equality in ASEAN) และ 5. Student-Lecturer Ratio as a Parameter of Quality in OFDL Context (What Are the Factors that Determine the Quality of Open Universities?) ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยอธิการบดี ผู้ประสานงาน OU5 ของมหาวิทยาลัย และนักวิจัย จาก 5 มหาวิทยาลัย รวมจำนวน 35 คน
ภาพและข่าว : สถานวิเทศสัมพันธ์ มสธ.