มสธ. ร่วมส่งเสริมคุณภาพมาตรฐานการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาอย่างต่อเนื่อง จัดประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติเป็นครั้งที่ 13 มีผลงานวิจัยดีได้รับรางวัล 13 ผลงาน
เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) โดยสำนักบัณฑิตศึกษาจัดการประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มสธ. ครั้งที่ 13 โดย รองศาสตราจารย์ ดร.มานิตย์ จุมปา กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ รักษาการแทนอธิการบดี เป็นประธานในงาน การจัดงานจัดในรูปแบบออนไลน์ มีการถ่ายทอดสดการบรรยายพิเศษผ่านเเฟนเพจเฟสบุ๊คสำนักบัณฑิตศึกษา มสธ. เรื่อง นวัตกรรมการวิจัยและพัฒนา : ความท้าทายของสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผอ.สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และ ดร.ธัชไท กีรติพงศ์ไพบูลย์ ผอ.กองยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ สำนักงานสภาการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และการเสนอผลงานวิจัยแบบบรรยายผ่านโปรแกรม MS Teams ซึ่งมีบทความนำเสนอทั้งสิ้น 157 ผลงาน ทุกผลงานที่ร่วมนำเสนอได้ผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะศาสตร์จากภายนอกและภายในมหาวิทยาลัย รวมถึงมีอาจารย์บัณฑิตศึกษา มสธ. ทุกสาขาวิชาร่วมเป็นกองบรรณาธิการเป็นเครื่องยืนยันคุณภาพของบทความ การเข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัยเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการแล้ว นักศึกษาระดับปริญญาโทสามารถใช้ Proceedings และเกียรติบัตร เป็นหลักฐานประกอบการขอสำเร็จการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา
การประชุมครั้งนี้มีบทความวิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์ ได้รับรางวัลรวมทั้งสิ้น 13 ผลงาน แบ่งเป็น กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 3 เรื่อง เป็นดุษฎีนิพนธ์ดีมาก จำนวน 1เรื่อง วิทยานิพนธ์ดีมาก จำนวน 1เรื่อง และวิทยานิพนธ์ดี จำนวน 1เรื่อง และกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ 10 เรื่อง เป็นวิทยานิพนธ์ดีมาก จำนวน 5เรื่อง และวิทยานิพนธ์ดี อีกจำนวน 5เรื่อง
⭐ กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
🚩รางวัลดุษฎีนิพนธ์ดีมาก จำนวน 1 เรื่อง ได้แก่
เรื่อง การสื่อสารความตายระหว่างบุคลากรทางสุขภาพกับผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง และผู้ดูแลหลัก โดย นางสาวดารณี ทั้งไพศาล สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มีรองศาสตราจารย์ ดร.มนวิภา วงรุจิระ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
🚩 รางวัลวิทยานิพนธ์ดีมาก จำนวน 1 เรื่อง ได้แก่
เรื่อง การใช้สื่อสังคมออนไลน์ของกระทรวงสาธารณสุขในการสื่อสารภาวะวิกฤตโรคโควิด 19 ผู้ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ดีมาก โดย นางสาวกัญญ์วรา ศิริสมบูรณ์เวช สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มีรองศาสตราจารย์ ดร.ปิยฉัตร ล้อมชวการ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
🚩 รางวัลวิทยานิพนธ์ดี จำนวน 1 เรื่อง ได้แก่
เรื่อง ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการเสริมต่อการเรียนรู้ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวรราชาทินัดดามาตุวิทยา จังหวัดปทุมธานี โดย นายศรารักษ์ เกลือนสิน สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มีรองศาสตราจารย์ ดร.นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
รางวัลดุษฎีนิพนธ์ดีมาก กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดย นางสาวดารณี ทั้งไพศาล สาขาวิชานิเทศศาสตร์
รางวัลวิทยานิพนธ์ดีมาก กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดย นางสาวกัญญ์วรา ศิริสมบูรณ์เวช สาขาวิชานิเทศศาสตร์
รางวัลวิทยานิพนธ์ดี กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดย นายศรารักษ์ เกลือนสิน สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
⭐กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ
🚩 รางวัลวิทยานิพนธ์ดีมาก จำนวน 5 เรื่อง ได้แก่
🌟 เรื่อง ประสิทธิผลของการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยการแพทย์ทางไกลโรงพยาบาลบึงกาฬ โดย นายกฤษฎา ศิริชัยสิทธิ์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกพล กาละดี เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
🌟 เรื่อง การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการเตรียมผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตโดยใช้เซลล์ต้นกำเนิดตนเอง โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ โดย นางวรัชยา ทิมา สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เปรมฤทัย น้อยหมื่นไวย เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
🌟 เรื่อง การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีภาวะเสี่ยงในชุมชน ชนบทตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี โดย นางอรวรรณ อยู่สุวรรณ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ พันตรีหญิง ดร.นภาเพ็ญ จันทขัมมา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
🌟 เรื่อง ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองร่วมกับโมบายแอปพลิเคชันฉันชนะ เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มเสี่ยง จังหวัดสุโขทัย โดย นายพลัฏฐ์ วัฒนา สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ พันตรีหญิง ดร.นภาเพ็ญ จันทขัมมา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
🌟 เรื่อง การวิเคราะห์องค์ประกอบภูมิคุ้มกันทางใจของพยาบาลดูแลผู้สูงอายุ โดย นางสยุมพร พูนมั่น สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มีรองศาสตราจารย์ ดร.อารี ชีวเกษมสุข เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
รางวัลวิทยานิพนธ์ดีมาก กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดย โดย นายกฤษฎา ศิริชัยสิทธิ์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
รางวัลวิทยานิพนธ์ดีมาก กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดย นางวรัชยา ทิมา สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์
รางวัลวิทยานิพนธ์ดีมาก กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดย นางอรวรรณ อยู่สุวรรณ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์
รางวัลวิทยานิพนธ์ดีมาก กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดย นายพลัฏฐ์ วัฒนา สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์
รางวัลวิทยานิพนธ์ดีมาก กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดย นางสยุมพร พูนมั่น สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์
🚩รางวัลวิทยานิพนธ์ดี จำนวน 5 เรื่อง ได้แก่
🌟 เรื่อง ผลของโปรแกรมการควบคุมภาวะอ้วนโดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนและครอบครัว ในนักเรียนประถมศึกษา โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดย นางสาวฐิติมา ตรีมาลา สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ พันตรีหญิง ดร.นภาเพ็ญ จันทขัมมา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
🌟 เรื่อง ผลของการใช้โมบายแอปพลิเคชันเพื่อการจัดการการดูแลเด็กโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ โดย นางสาวนันทวดี ใจหาญ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มีรองศาสตราจารย์ ดร.อารี ชีวเกษมสุข เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
🌟 เรื่อง การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกในพยาบาลวิชาชีพจบใหม่ โรงพยาบาลหนองคาย โดย นางสาวมัสลินภร จู่มา สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เปรมฤทัย น้อยหมื่นไวย เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
🌟 เรื่อง การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลต่อพฤติกรรมในการป้องกันการติดเชื้อ ความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ดูแลและอัตราการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำในโรงพยาบาลของผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด โดย นางอุบลวรรณ อุณหสุวรรณ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เปรมฤทัย น้อยหมื่นไวย เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
🌟 เรื่อง โมเดลเชิงสาเหตุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดย นางสินีนาฏ เนาว์สุวรรณ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา ศรีสวัสดิ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
รางวัลวิทยานิพนธ์ดี กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดย นางสาวฐิติมา ตรีมาลา สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์
รางวัลวิทยานิพนธ์ดี กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดย นางสาวมัสลินภร จู่มา สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์
รางวัลวิทยานิพนธ์ดี กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดย นางอุบลวรรณ อุณหสุวรรณ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์
รางวัลวิทยานิพนธ์ดี กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดย นางสินีนาฏ เนาว์สุวรรณ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์
การจัดงานนอกจากจะมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อสนับสนุนและเผยแพร่ผลงานวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา นักวิจัย และนักวิชาการ สู่สาธารณชน โดยผ่านเวทีนำเสนอผลงานวิจัยต่อที่ประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ และเป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา นักวิจัย และนักวิชาการ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้าทางการวิจัยในสาขาต่างๆ แล้ว ยังเป็นการสร้างผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกของ มสธ. ที่มีคุณภาพและมาตรฐานทางการศึกษา โดยในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาของ มสธ.ยังคงได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีหลักสูตรจาก 12 สาขาวิชาที่ มสธ. เปิดสอน มีผู้สมัครศึกษาจำนวนกว่า 2,000 คนต่อภาคการศึกษา ซึ่งผู้สนใจดูรายละเอียดและช่องทางการสมัครเรียนได้แล้ววันนี้ที่ https://ogs.stou.ac.th/apply-graduate/
ภาพ : หน่วยถ่ายภาพ สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มสธ.