มสธ. ร่วมใจบริจาคโลหิตกับสภากาชาดไทย

ความสุขทางใจที่ได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์จากการบริจาคโลหิต

วันที่ 14 ธันวาคม 2565 กองทรัพยากรบุคคลและบุคคลากรมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้ร่วมใจกันบริจาคโลหิตให้กับศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ณ ห้องสุโขทัย อาคารอเนกนิทัศน์  มสธ. ในปี 2566 มหาวิทยาลัยจะดำเนินการรับบริจาคทั้งหมด 4 ครั้ง โดยครั้งนี้เป็นการบริจาคโลหิตครั้งแรก ครั้งที่ 2 วันที่ 14 มีนาคม 2566 ครั้งที่ 3 วันที่ 13 มิถุนายน 2566 และครั้งที่ 4 วันที่ 12 กันยายน 2566

การรับบริจาคโลหิตวันที่
ครั้งที่ 114 ธันวาคม 2565
ครั้งที่ 214 มีนาคม 2566
ครั้งที่ 313 มิถุนายน 2566
ครั้งที่ 412 กันยายน 2566
ตารางการรับบริจาคโลหิตที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
วัดความดันโลหิต

โลหิตหรือเลือดเป็นของเหลวสีแดงที่ไหลเวียนอยู่ภายในหลอดเลือดประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) เม็ดเลือด (Blood Cell) สร้างจากไขกระดูก มี 3 ชนิด ได้แก่ เม็ดเลือดแดง (Red Blood Cell) ช่วยลำเลียงก๊าซออกซิเจนเพื่อให้เซลล์ใช้สันดาปเป็นพลังงานและนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกายเมื่อหายใจออก เม็ดเลือดขาว (White Blood Cell) ช่วยทำลายเชื้อโรคและปกป้องร่างกายโดยสร้างภูมิคุ้มกัน และเกล็ดเลือด (Platelets) ช่วยทำให้เลือดแข็งตัวตรงจุดที่มีการฉีกขาดของหลอดเลือด 2) พลาสมา (Plasma) เป็นของเหลวสีเหลืองใส ประกอบด้วยสารโปรตีน ได้แก่ อัลบูมิน (Albumin) โกลบูลิน (Globulin) อิมมูโนโกลบูลิน (Immunoglobulin) ปัจจัยการแข็งตัวของเลือด ()

เจาะเลือดก่อนบริจาคโลหิต

การบริจาคโลหิตแต่ละครั้งจะมีปริมาณในการบริจาคครั้งละ 350 – 450 ซีซี ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวของผู้บริจาค หรือคิดเป็น 10 -12% ของปริมาณโลหิตทั้งหมดในร่างกาย ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริจาคโลหิต สามารถบริจาคได้ทุก 3 เดือน โลหิตที่ได้จะนำไปช่วยเหลือผู้ป่วยที่เกิดภาวะสูญเสียโลหิตเฉียบพลัน ได้แก่ อุบัติเหตุ การผ่าตัด ตกเลือดหลังคลอดบุตรเลือดออกในทางเดินอาหาร หรือผู้ป่วยโรคเลือด ได้แก่ โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย โรคโลหิตจางจากสาเหตุอื่น ๆ โรคเกล็ดเลือดต่ำ หรือโรคขาดปัจจัยการแข็งตัวของเลือด

บุคลากร มสธ. บริจาคโลหิต

การบริจาคโลหิตจะช่วยให้ระบบไหลเวียนของเลือดจะดีขึ้นและกระตุ้นให้ไขกระดูกผลิตเม็ดโลหิตขึ้นมาใหม่ทดแทน จึงไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แนวทางของการบริจาคโลหิตจะพิจารณาจากน้ำหนักตัวของผู้บริจาค ความพร้อมทางด้านร่างกายและจิตใจ

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติมคุณสมบัติของผู้บริจาคโลหิต คลิกที่นี่

บทความโดย

ข่าวที่น่าสนใจ

Full-HD-01-scaled
NCSA-Cyber-Hygiene-Certificates-2022
ก.ค