การนำเงินไปลงทุนกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จัดการกองทุน และการแต่งตั้งรองศาสตราจารย์ ดร.มานิตย์ จุมปา ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเป็นการกระทำโดยมีอำนาจตามกฎหมายและชอบด้วยกฎหมาย

เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566 ศาสตราจารย์พิเศษ เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้ชี้แจงข้อมูล กรณีนำเงินไปลงทุน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชสามารถทำได้ โดยได้หารือกับกรมบัญชีกลางและสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว เผย 4 ปี ได้ผลตอบแทนกว่า 200 ล้านบาท ส่วนกรณีนายกสภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีคำสั่งแต่งตั้ง รองศาสตราจารย์ ดร.มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาดำรงตำแหน่งรักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 นั้น ทุกกระบวนการเป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งที่มาของข้อมูลการชี้แจงดังกล่าวสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์/MGR Online (https://mgronline.com/qol/detail/9660000015792)

ศาสตราจารย์พิเศษ เอนก เหล่าธรรมทัศน์
รัฐมนตรีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ในวันเดียวกัน (17 กุมภาพันธ์ 2566) ทางมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้ออกคำชี้แจงมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ฉบับที่ 1/2566 การนำเงินไปลงทุนกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จัดการกองทุน เป็นการกระทำโดยมีอำนาจตามกฎหมายและชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

“สืบเนื่องจากที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรท่านหนึ่งได้กล่าวอภิปรายทั่วไป ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 ตามที่ปรากฏในข่าวนั้น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ขอชี้แจ้งว่า การเงินนำเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยไปลงทุนกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จัดการกองทุน เป็นการดำเนินการของมหาวิทยาลัยภายใต้การควบคุมและกำกับของสภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดให้อำนาจไว้เป็นการเฉพาะตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. 2521 โดยมีกลไกการกำกับดูแลและติดตามบริหารความเสี่ยง และบทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้การนำเงินไปลงทุนดังกล่าวจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา อีกทั้งในการดำเนินการในเรื่องนี้ มหาวิทยาลัยได้มีการหารือไปยังกรมบัญชีกลางในส่วนที่เกี่ยวข้อง และส่งร่างสัญญาการลงทุนให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจร่างสัญญาตามระเบียบแบบแผนของทางราชการด้วยแล้ว

ดังนั้น การนำเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยไปลงทุนกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จัดการกองทุน จึงเป็นการกระทำโดยมีอำนาจตามกฎหมายและชอบด้วยกฎหมายแล้ว นอกจากนี้ เพื่อความรอบคอบรัดกุม มหาวิทยาลัยยังได้มีการติดตามผลอย่างเป็นระบบ มีระเบียบรองรับถูกต้องตามกฎหมายที่ปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่องเสมอมา ทำให้การลงทุนนี้ไม่กระทบกับความเสี่ยงหรือความสูญเสียแต่กลับทำให้มหาวิทยาลัยได้ประโยชน์ที่ดีกว่าเดิมอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้รับผลตอบแทนจากเงินที่ลงทุนตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 216,965,623 บาท (ตั้งแต่ปี 2562 ถึง ปี 2565) เฉลี่ยแล้วได้ผลประโยชน์ที่มีอัตราประมาณร้อยละ 2.44 – 4.40 บาท ซึ่งสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่มีอัตราประมาณร้อยละ 0.61 – 1.16 บาท”

บทความโดย

ข่าวที่น่าสนใจ

012-10
Blue Ocean Themed Wide Presentation (1)
คลาวด์-1