พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตร แก่ผู้สำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในวันที่ 25 มิถุนายน พุทธศักราช 2566

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ประจำปีการศึกษา 2563 และ 2564 ณ อาคารอเนกนิทัศน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี วันที่ 25 มิถุนายน พุทธศักราช 2566 เป็นวันสุดท้าย

นายสุธี ทองแย้ม ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี, นางอภิรดี โพธิ์พร้อม อธิบดีผู้พิพากษาภาค 1, พลโท พนา แคล้วปลอดทุกข์ แม่ทัพภาคที่ 1, พลตำรวจโท จิรพัฒน์ ภูมิจิตร ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1, ศาตราจารย์สิริฤกษ์ ทรงศิริวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, ศาสตราจารย์ประสาท สืบค้า กรรมการสภามหาวิทยาลัย ผู้ทรงคุณวุฒิปฏิบัติหน้าที่แทนนายกสภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, รองศาสตราจารย์ ดร.มานิตย์ จุมปา กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พร้อมข้าราชการ เฝ้าฯ รับเสด็จ

รองศาสตราจารย์ ดร.มานิตย์ จุมปา กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส พระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา, ประธานกรรมการประจำสาขาวิชาและผู้แทนสาขาวิชา กราบบังคมทูลเบิกผู้สำเร็จการศึกษา เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร

นับตั้งแต่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2523 มีผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มาแล้ว 38 รุ่น จำนวน 511,628 ราย สำหรับรุ่นนี้เป็นรุ่นที่ 39 ปีการศึกษา 2563 และรุ่นที่ 40 ปีการศึกษา 2564 มีผู้สำเร็จการศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 16,751 ราย แยกเป็นระดับปริญญาตรี จำนวน 14,971 ราย ระดับปริญญาโท จำนวน 1,739 ราย และระดับปริญญาเอก จำนวน 41 ราย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
รองศาสตราจารย์ ดร.มานิตย์ จุมปา
กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กราบบังคมทูล

ผู้สำเร็จการศึกษาวันนี้

ผู้สำเร็จการศึกษาวันนี้จำนวน (ราย)
บัณฑิตสาขาวิชานิติศาสตร์1,888
บัณฑิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ  
ปริญญาสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต
ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต
ปริญญาการแพทย์แผนไทยบัณฑิต
1,480
บัณฑิตสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์178
บัณฑิตสาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์
ปริญญาคหกรรมศาสตรบัณฑิต
ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต
ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต
412
บัณฑิตสาขาวิชานิเทศศาสตร์215
บัณฑิตสาขาวิชาวิทยาการจัดการ
ปริญญาเทคโนโลยีบัณฑิต
ปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต
ปริญญาบัญชีบัณฑิต
2,121
บัณฑิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี355
ดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาศิลปศาสตร์1
ดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาศึกษาศาสตร์11
ดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาการจัดการ5
ดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชานิติศาสตร์1
ดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชารัฐศาสตร์3
ดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์10
ดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชานิเทศศาสตร์10
มหาบัณฑิตสาขาวิชาศิลปศาสตร์20
มหาบัณฑิตสาขาวิชาศึกษาศาสตร์340
มหาบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาการจัดการ357
มหาบัณฑิตสาขาวิชานิติศาสตร์237
มหาบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ106
มหาบัณฑิตสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์44
มหาบัณฑิตสาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์25
มหาบัณฑิตสาขาวิชารัฐศาสตร์45
มหาบัณฑิตสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์418
มหาบัณฑิตสาขาวิชานิเทศศาสตร์62
มหาบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี32
มหาบัณฑิตสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์53

บัณฑิตมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ปีการศึกษา 2563 และ 2564
บัณฑิตเกียรตินิยม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ในรุ่นที่ 39 และรุ่นที่ 40 นี้ มีผู้สำเร็จการศึกษาที่ได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง 19 ราย และเกียรตินิยมอันดับสอง 70 ราย

ในวันนี้มีผู้สำเร็จการศึกษาที่ได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เข้ารับเหรียญทอง 2 ราย ได้รับเกียรตินิยมอันดับสอง เข้ารับเหรียญเงิน 7 ราย ดังนี้

บัณฑิตเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง

  • สาขาวิชานิติศาสตร์ ปริญญานิติศาสตรบัณฑิต นางสาวภาวิณี อินนาค
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ปริญญาการแพทย์แผนไทยบัณฑิต นางสาวกุลธิดา ไชยกิจอร่าม

บัณฑิตเกียรตินิยมอันดับสอง

  • สาขาวิชานิติศาสตร์ ปริญญานิติศาสตรบัณฑิต นางสาวกลวัชร ขุนงามขำ นางสาวธิติรัชต์ สืบเนียม ว่าที่ร้อยตำรวจโท พุทธพงศ์ ยกชม นายวิทวัส ผลทับทิม นางสาววิรัญดา ภูมิสุจิตโต นายสุทธิพงษ์ ศรีทรงชัย
  • สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ ปริญญาเศรษฐศาสตรบัณฑิต นายมนตรี ภู่พิชญาพันธุ์

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐแบบไม่จำกัดจำนวน โดยใช้ระบบการศึกษาทางไกล เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษาได้อย่างเท่าเทียม ไม่จำกัดอายุ เพศและวุฒิการศึกษา รวมถึงรองรับกลุ่มผู้เรียนที่ต้องการเพิ่มคุณวุฒิวิชาชีพ ด้วยการจัดการศึกษาที่หลากหลาย ขยายโอกาสให้ครอบคลุมกลุ่มผู้เรียนในทุกช่วงวัย อาทิ หลักสูตร STOU MODULAR (หลักสูตรระยะสั้น) โครงการสัมฤทธิบัตร โครงการทดลองเรียน (อายุ 18 ปีบริบูรณ์) ระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา และในปี 2566 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชยังคงมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเปิดที่ใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกลแบบดิจิทัล และสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในยุคพลิกผัน จึงจัดทำแผนการ ปรับแต่งแปลงโฉมมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ.2565-2569 โดยเน้นในประเด็นสำคัญดังนี้

  1. การเพิ่มทางเลือกในการรับโอกาสทางการศึกษาในรูปแบบแผนการศึกษา ก1 ก2 และ ก3 เพื่อช่วยเพิ่มผลสัมฤทธิ์ ในการเรียนของนักศึกษาและเพิ่มจำนวนนักศึกษา/ผู้เรียนของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชให้สูงขึ้น
  2. การปรับการจัดการเรียนการสอนเป็นออนไลน์สมบูรณ์แบบและการสร้างให้นักศึกษา/ผู้เรียนสะดวกเรียนสะดวกรู้ด้วยบริการแบบดิจิทัล
  3. การจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษาที่เน้นการบูรณาการระหว่างปรัชญาของมหาวิทยาลัยกับผู้เรียนเพื่อให้มีฐานสมรรถนะที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ
  4. การวิเคราะห์รายรับและรายจ่าย งบประมาณที่เกิดจากการปรับแต่งแปลงโฉมของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชในระยะ 5 ปี

สำหรับการเพิ่มทางเลือกในการรับโอกาสทางการศึกษาในรูปแบบแผนการศึกษา ก1 ก2 และ ก3 เป็นกลยุทธ์สำคัญในการปฏิบัติเพื่อลดอัตราการออกกลางคันและเพิ่มจำนวนนักศึกษาใหม่ในระดับต่ำกว่าปริญญาและปริญญาตรี ปัจจุบันมหาวิทยาลัยปฏิรูปแผนการเรียนการสอน ก1 ก2 และก3 รูปแบบใหม่ ประกอบด้วย 3 แผนการศึกษา ดังนี้

  1. แผนการศึกษา ก1 ผู้เรียนศึกษาด้วยตนเอง ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์ สอบประจำภาค หน่วยการเรียนรู้ที่ 1-15 สอบเก็บคะแนน 100 คะแนน สามารถเลือกสอบได้ทั้งออนไลน์และสอบสนาม
  2. แผนการศึกษา ก2 ผู้เรียนศึกษาด้วยตนเอง ผ่านระบบการเรียนออนไลน์สมบูรณ์แบบ มีกิจกรรมสอนเสริม 2 ครั้ง เก็บ 40 คะแนนและสอบประจำภาคหน่วยการเรียนรู้ที่ 1-15 เก็บ 60 คะแนน
  3. แผนการศึกษา ก3 ผู้เรียนศึกษาด้วยตนเองผ่านระบบการเรียนออนไลน์สมบูรณ์แบบ มีกิจกรรมร่วมเรียนรู้ 2 ครั้ง เก็บ 40 คะแนน สอบกลางภาคแบบออนไลน์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1-7 เก็บ 30 คะแนน และสอบประจำภาค หน่วยการเรียนรู้ที่ 8-15 เก็บ 30 คะแนน

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยยังคงพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในยุคพลิกผัน โดยปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ต่าง ๆ รวมถึงการพัฒนาการบริการให้ผู้เรียนสะดวกเรียนสะดวกรู้ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อนักศึกษาและผู้เรียนเป็นสำคัญ

ภาพโดย : หน่วยถ่ายภาพเพื่อการศึกษา มสธ.

บทความโดย

ข่าวที่น่าสนใจ

ui001
oiuu001
Full-HD-01-scaled